วันจันทร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2557

นกกาบบัว




ลักษณะทั่วไป
มีขนาดตัวประมาณ 40 นิ้ว ปากสีเหลืองอมส้มโค้งลง หน้าสีส้ม ตัวขาวมีลายดำพาดที่หน้าอก ส่วนบนของปีกมีลายดำอมเขียวสะท้อนแสง ขนบริเวณหลังถึงหางมีสีชมพู ปลายหางสีดำ ขายาว ลักษณะเหมือนกันทั้งสองเพศ มักพบอยู่ด้วยกันเป็นคู่ หรือเป็นฝูงตามท้องนา เป็นนกที่ไม่ค่อยคล่องแคล่ว วันๆจะยืนนิ่งๆ หรือไม่ก็เดินช้าๆ เงียบๆ ตามทุ่งนาเพื่อหาปลา หากบกิน เป็นนกที่ไม่ค่อยพบเห็นบ่อยมากนัก ผสมพันธุ์ปลายฤดูฝนจนถึงฤดูหนาว (กันยายน - พฤศจิกายน) ทำรังบนต้นไม้ที่อยู่ใกล้น้ำ หรือในน้ำ สร้างรังด้วยกิ่งไม้สานกันตื้นๆ บุด้วยใบไม้หรือฟาง วางไข่ครั้งละ 3 - 5 ฟอง ไข่มีสีขาว ทั้งตัวผู้และตัวเมียช่วยกันทำงาน
ถิ่นที่อยู่อาศัย
อินเดีย, ศรีลังกา, พม่า, ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน, ลาว, เขมร, เวียดนาม, มาเลเซียและไทย สำหรับประเทศไทยมีตั้งแต่ภาคกลางตลอดจนถึงภาคใต้ นกกาบบัวนี้อยู่ในบัญชีสัตว์คุ้มครองประเภทที่ 1
พฤติกรรม, การสืบพันธุ์
นกกาบบัวจะหากินอาหารจำพวกสัตว์น้ำโดยการลุยลงไปในน้ำจุ่มจะงอยปากลงไปหาอาหารตามโคลนท้องน้ำ หรืออาจหาเหยื่อด้วยการยืนกางปีก ก้มตัวนิ่ง และอ้าปากแช่อยู่ในน้ำ เมื่อเหยื่อผ่านมาก็จะงับทันที แล้วใช้โคนปากขบซ้ำจนตาย แล้วจึงกลืนเหยื่อเข้าไป


นกร่อนทะเล



นกร่อนทะเล (อังกฤษ: Tropicbird) เป็นวงศ์ของนกทะเลที่หากินบนผิวน้ำในมหาสมุทรเขตร้อน ปัจจุบันจัดอยู่ในอันดับกระทุง (Pelecaniformes) (บ้างก็จัดให้อยู่ในอันดับของตัวเองต่างหาก คือ Phaethontiformes) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Phaethontidae
ความสัมพันธุ์กับนกชนิดอื่นยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่พบว่ามันไม่มีญาติใกล้ชิดอื่นอีก มี 3 ชนิด สกุลเดียวเท่านั้น คือ Phaethon ชุดขนส่วนมากเป็นสีขาว มีขนหางยาว ขาและเท้าเล็ก


ลักษณะ นกร่อนทะเลมีขนาดตั้งแต่ 76 เซนติเมตร ถึง 102 เซนติเมตร ช่วงปีกยาว 94 เซนติเมตร ถึง 112 เซนติเมตร ชุดขนส่วนใหญ่เป็นสีขาว มีขนตรงกลางหางยาว ทั้งสามชนิดต่างกันที่แต้มสีดำบนหน้า หลัง และปีก ปากใหญ่ แข็งแรง โค้งลงเล็กน้อย หัวใหญ่ คอสั้นหนา มีเท้าแบบพัดเต็ม (แผ่นพังผืดขึงติดต่อกันทั้ง 4 นิ้ว) ขาอยู่ด้านหลังไกลจากลำตัว ทำให้มันเดินไม่ได้ ดังนั้นการเคลื่อนที่บนบกมันทำได้เพียงดันตัวเองไปข้างหน้าด้วยเท้า
เสียงร้องของนกร่อนทะเลโดยทั่วไปจะดัง แหลม โหยหวน แต่แกรกกราก หรือเสียงแตก บ่อยครั้งที่ร้องเป็นชุดอย่างรวดเร็วเมื่อบินที่โคโลนี









วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

นกกางเขน


นกกางเขนบ้าน Copsychus saularis (oriental magpie-robin) เป็นนกที่มีขนาดตัวจากปลายปาก จรดปลายหางประมาณ 19-21 ซม. ตัวผู้มีสีดำเป็นมันเงาตั้งแต่หัว คอหน้าอก หลัง ปีก และหาง มีลำตัวด้านล่างสีขาวตัดกับสีลำตัวด้านบน มีแถบสีขาวตลอดความยาวของปีก ปากและขาสีดำ นกตัวเมียเหมือนตัวผู้ แต่แทนสีดำด้วยสีเทาและนกในวัยเด็กจะแทนที่สีดำด้วยสีเทาลายๆ





   นกกางเขนบ้านเป็นนกที่พบได้ทั่วไปในประเทศไทย ตั้งแต่ป่าโปร่ง ป่าชายเลน พื้นที่เกษตรกรรม สวนผลไม้ สวนสาธารณะในเมือง และเมืองใหญ่ จากที่ราบถึงความสูง 1800เมตร แต่อย่างไรก็ตาม เรามักพบเค้าอยู่ใกล้กับบ้านคนมากกว่าในป่า











วันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

นกกินปลี





         นกกินปลี (อังกฤษ: Sunbird) เป็นวงศ์ของนกเกาะคอนขนาดเล็ก ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nectariniidae
เป็นนกขนาดเล็ก มีความยาวเต็มที่ประมาณ 10-15 เซนติเมตร มีจุดเด่น คือ มีจะงอยปากยาวโค้ง ที่ภายในกลวงเป็นท่อ และมีลิ้นขนาดยาวอยู่ในนั้น ใช้สำหรับดูดกินน้ำต้อยจากดอกไม้เป็นอาหารหลัก บางครั้งอาจจะกินแมลงด้วย และนำไปเลี้ยงดูลูกอ่อน สามารถบินได้ด้วยความรวดเร็ว จึงมีลักษณะคล้ายกับนกฮัมมิ่งเบิร์ด (Trochilidae) ที่พบในทวีปอเมริกา
เป็นนกที่มีสีสันสวยงาม ตัวผู้จะมีสีสวยและขนาดตัวใหญ่กว่าตัวเมีย พยกระจายพันธุ์ในซีกโลกที่เรียกว่า โลกเก่า คือ ทวีปยุโรป, แอฟริกา, เอเชีย และออสเตรเลีย รังทำด้วยเปลือกไม้และใบไม้แขวนห้อยอยู่ปลายกิ่งไม้ ดูรุงรังคล้ายถุงขยะ บางครั้งอาจเข้ามาทำรังในชายคาบ้านของมนุษย์ ตัวเมียเป็นฝ่ายกกไข่และดูแลลูก ขณะที่ตัวผู้จะเป็นดูแลอยู่ข้างนอกและหาอาหารมาป้อนให้ นกกินปลีมีหลายชนิดยกตัวอย่าง เช่น

นกกินปลีดำม่วง


นกกินปลีหางยาวเขียว


นกกินปลีอกแดง


นกกินปลีอกเหลือง






นกพญาปากกว้าง




          นกพญาปากกว้าง (Broadbills) ทั้งหลาย พวกมันทำรังเป็นทรงกระเปาะห้อยอยู่ตามปลายกิ่งไม้เล็กๆเหนือลำธารหรือที่โล่งเพื่อความปลอดภัยของไข่และลูกน้อย รังของพวกมันมักถูกสร้างให้ยื่นออกไปในชัยภูมิที่ปลอดภัยต่อการเข้าถึงโดยสัตว์นักล่าที่ชอบไต่กิ่งไม้หรือกระโดดไปมาระหว่าง อาทิ เช่น งู หมาไม้ กระรอก
          เมื่อฤดูกาลอพยพที่มีนกให้ดูเยอะที่สุดในเมืองไทยค่อยๆผ่านเปลี่ยนเป็นฤดูร้อน หรือพูดง่ายๆว่าฤดูหนาวได้ผ่านพ้นไปแล้ว (แม้พื้นที่ส่วนใหญ่ของบ้านเราคงจะเรียกว่า“ฤดูหนาว”ไม่ได้อย่างเต็มปาก) ก็เป็นอันรู้กันในหมู่นักดูนกและนักถ่ายภาพว่าถึงเวลาเข้าป่าเพื่อดูนกที่กำลังจับคู่ผสมพันธุ์ โดยเฉพาะนกป่าสีสันสวยงามบางชนิดที่จะพบเห็นได้ง่ายในช่วงเวลานี้ของปีเท่านั้น ฤดูนี้จึงเป็นฤดูกาลที่นกเหล่านี้ถูกรบกวนมากที่สุด เพราะหลายคนอดไม่ได้ที่จะปักหลักที่หน้ารังนกเพื่อเชยชมใกล้ๆหรือเพื่อให้ได้มาซึ่งภาพถ่ายที่คมกริบเห็นทุกรูขุมขน



                       
                               นกพญาปากกว้างอกแดง                                                                        นกพญาปากกว้างหางยาว



                                นกพญาปากกว้างอกน้ำเงิน                                                                    นกพญาปากกว้างสีดำ
                   







นกหัวขวาน


             นกหัวขวาน (อังกฤษ: Woodpecker) เป็นนกวงศ์หนึ่ง ในอันดับนกหัวขวานและนกโพระดก (Piciformes) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Picidae เป็นนกที่มีสามารถไต่ขึ้นลงตามต้นไม้ได้ดีเป็นแนวตั้ง ด้วยขาที่สั้น และเล็บที่แหลมคม ส่วนใหญ่มีนิ้วหน้า 2 นิ้ว นิ้วหลัง 2 นิ้ว (ขณะที่บางชนิดจะมีเพียง 3 นิ้ว หรือบางชนิดก็มีนิ้วยื่นไปข้างหน้า) เล็บมีความคมและแข็งแรง หางมักจะแข็งมากและเป็นรูปลิ่ม ใช้ช่วยยันต้นไม้ขณะไต่ขึ้นลงตามลำต้น นกหัวขวานเป็นนกประเภทอยู่รู หรืออยู่อาศัยตามโพรงไม้ ตามปกติแล้วมักจะเลือกสถานที่ทำรังโดยใช้จะงอยปากที่แข็งแรงเจาะต้นไม้จนเป็นโพรงใหญ่ ขนาดที่ตัวของนกเองจะเข้าออกได้อย่างสะดวก นกหัวขวานเป็นนกที่ปกติจะอาศัยอยู่เพียงลำพัง ไม่มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูงเหมือนนกอื่น ๆ ถ้าหากมีนกอื่นรุกล้ำเข้ามา จะส่งเสียงร้อง "แก๊ก ๆ ๆ" ดังกังวาลเพื่อเตือน อย่างไรก็ตาม ตัวเมียก็มีส่วนช่วยเลือกสถานที่ทำรังเหล่านี้ด้วย ส่วนมากมักชอบไม้เนื้ออ่อน ซึ่งในฤดูแล้ง ต้นไม้เหล่านี้จะทิ้งใบ แต่บางครั้งจะทำรังตามต้นไม้แห้ง ๆ หรือต้นมะพร้าวหรือต้นปาล์ม

     






นกแก้วโม่ง




 แก้วโม่ง (อังกฤษ: Alexandrine parakeet, Alexandrine parrot; ชื่อวิทยาศาสตร์: Psittacula eupatria) เป็นนกตระกูลนกแก้วขนาดเล็ก-กลาง โดยมีชื่อสามัญตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแด่ อเล็กซานเดอร์มหาราช กษัตริย์แห่งอาณาจักรมาซิโดเนีย เมื่อครั้งยาตราทัพเข้ามาสู่ในทวีปเอเชีย โดยได้นำนกแก้วชนิดนี้กลับไปยังทวีปยุโรป
นกแก้วโม่งมีถิ่นกำเนิดแพร่กระจายทั่วไปในแถบทวีปเอเชีย ตั้งแต่ฝั่งตะวันตกและตะวันออกของอัฟกานิสถาน, ไล่ลงไปยังอินเดีย, อินโดจีน เช่น พม่า หรือ ประเทศไทยฝั่งตะวันตก รวมทั้งยังพบได้ตามหมู่เกาะในทะเลอันดามัน

ลักษณะ

นกแก้วโม่งมีความยาววัดจากหัวถึงปลายหางได้ราว 57-58 เซนติเมตร ลำตัวมีสีเขียว จงอยปากมีลักษณะงุ้มใหญ่สีแดงสด บริเวณหัวไหล่จะมีแถบสีแดงแต้มอยู่ทั้งสองข้าง นกเพศผู้และเมียสามารถแยกแยะได้เมื่อนโตเต็มที่ กล่าวคือในเพศผู้จะปรากฏมีแถบขนสีดำและสีชมพูรอบคอที่เรียกกันว่า "Ring Neck" ซึ่งในนกเพศเมียไม่มีเส้นที่ปรากฏดังกล่าว