วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

นกกางเขน


นกกางเขนบ้าน Copsychus saularis (oriental magpie-robin) เป็นนกที่มีขนาดตัวจากปลายปาก จรดปลายหางประมาณ 19-21 ซม. ตัวผู้มีสีดำเป็นมันเงาตั้งแต่หัว คอหน้าอก หลัง ปีก และหาง มีลำตัวด้านล่างสีขาวตัดกับสีลำตัวด้านบน มีแถบสีขาวตลอดความยาวของปีก ปากและขาสีดำ นกตัวเมียเหมือนตัวผู้ แต่แทนสีดำด้วยสีเทาและนกในวัยเด็กจะแทนที่สีดำด้วยสีเทาลายๆ





   นกกางเขนบ้านเป็นนกที่พบได้ทั่วไปในประเทศไทย ตั้งแต่ป่าโปร่ง ป่าชายเลน พื้นที่เกษตรกรรม สวนผลไม้ สวนสาธารณะในเมือง และเมืองใหญ่ จากที่ราบถึงความสูง 1800เมตร แต่อย่างไรก็ตาม เรามักพบเค้าอยู่ใกล้กับบ้านคนมากกว่าในป่า











วันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

นกกินปลี





         นกกินปลี (อังกฤษ: Sunbird) เป็นวงศ์ของนกเกาะคอนขนาดเล็ก ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nectariniidae
เป็นนกขนาดเล็ก มีความยาวเต็มที่ประมาณ 10-15 เซนติเมตร มีจุดเด่น คือ มีจะงอยปากยาวโค้ง ที่ภายในกลวงเป็นท่อ และมีลิ้นขนาดยาวอยู่ในนั้น ใช้สำหรับดูดกินน้ำต้อยจากดอกไม้เป็นอาหารหลัก บางครั้งอาจจะกินแมลงด้วย และนำไปเลี้ยงดูลูกอ่อน สามารถบินได้ด้วยความรวดเร็ว จึงมีลักษณะคล้ายกับนกฮัมมิ่งเบิร์ด (Trochilidae) ที่พบในทวีปอเมริกา
เป็นนกที่มีสีสันสวยงาม ตัวผู้จะมีสีสวยและขนาดตัวใหญ่กว่าตัวเมีย พยกระจายพันธุ์ในซีกโลกที่เรียกว่า โลกเก่า คือ ทวีปยุโรป, แอฟริกา, เอเชีย และออสเตรเลีย รังทำด้วยเปลือกไม้และใบไม้แขวนห้อยอยู่ปลายกิ่งไม้ ดูรุงรังคล้ายถุงขยะ บางครั้งอาจเข้ามาทำรังในชายคาบ้านของมนุษย์ ตัวเมียเป็นฝ่ายกกไข่และดูแลลูก ขณะที่ตัวผู้จะเป็นดูแลอยู่ข้างนอกและหาอาหารมาป้อนให้ นกกินปลีมีหลายชนิดยกตัวอย่าง เช่น

นกกินปลีดำม่วง


นกกินปลีหางยาวเขียว


นกกินปลีอกแดง


นกกินปลีอกเหลือง






นกพญาปากกว้าง




          นกพญาปากกว้าง (Broadbills) ทั้งหลาย พวกมันทำรังเป็นทรงกระเปาะห้อยอยู่ตามปลายกิ่งไม้เล็กๆเหนือลำธารหรือที่โล่งเพื่อความปลอดภัยของไข่และลูกน้อย รังของพวกมันมักถูกสร้างให้ยื่นออกไปในชัยภูมิที่ปลอดภัยต่อการเข้าถึงโดยสัตว์นักล่าที่ชอบไต่กิ่งไม้หรือกระโดดไปมาระหว่าง อาทิ เช่น งู หมาไม้ กระรอก
          เมื่อฤดูกาลอพยพที่มีนกให้ดูเยอะที่สุดในเมืองไทยค่อยๆผ่านเปลี่ยนเป็นฤดูร้อน หรือพูดง่ายๆว่าฤดูหนาวได้ผ่านพ้นไปแล้ว (แม้พื้นที่ส่วนใหญ่ของบ้านเราคงจะเรียกว่า“ฤดูหนาว”ไม่ได้อย่างเต็มปาก) ก็เป็นอันรู้กันในหมู่นักดูนกและนักถ่ายภาพว่าถึงเวลาเข้าป่าเพื่อดูนกที่กำลังจับคู่ผสมพันธุ์ โดยเฉพาะนกป่าสีสันสวยงามบางชนิดที่จะพบเห็นได้ง่ายในช่วงเวลานี้ของปีเท่านั้น ฤดูนี้จึงเป็นฤดูกาลที่นกเหล่านี้ถูกรบกวนมากที่สุด เพราะหลายคนอดไม่ได้ที่จะปักหลักที่หน้ารังนกเพื่อเชยชมใกล้ๆหรือเพื่อให้ได้มาซึ่งภาพถ่ายที่คมกริบเห็นทุกรูขุมขน



                       
                               นกพญาปากกว้างอกแดง                                                                        นกพญาปากกว้างหางยาว



                                นกพญาปากกว้างอกน้ำเงิน                                                                    นกพญาปากกว้างสีดำ
                   







นกหัวขวาน


             นกหัวขวาน (อังกฤษ: Woodpecker) เป็นนกวงศ์หนึ่ง ในอันดับนกหัวขวานและนกโพระดก (Piciformes) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Picidae เป็นนกที่มีสามารถไต่ขึ้นลงตามต้นไม้ได้ดีเป็นแนวตั้ง ด้วยขาที่สั้น และเล็บที่แหลมคม ส่วนใหญ่มีนิ้วหน้า 2 นิ้ว นิ้วหลัง 2 นิ้ว (ขณะที่บางชนิดจะมีเพียง 3 นิ้ว หรือบางชนิดก็มีนิ้วยื่นไปข้างหน้า) เล็บมีความคมและแข็งแรง หางมักจะแข็งมากและเป็นรูปลิ่ม ใช้ช่วยยันต้นไม้ขณะไต่ขึ้นลงตามลำต้น นกหัวขวานเป็นนกประเภทอยู่รู หรืออยู่อาศัยตามโพรงไม้ ตามปกติแล้วมักจะเลือกสถานที่ทำรังโดยใช้จะงอยปากที่แข็งแรงเจาะต้นไม้จนเป็นโพรงใหญ่ ขนาดที่ตัวของนกเองจะเข้าออกได้อย่างสะดวก นกหัวขวานเป็นนกที่ปกติจะอาศัยอยู่เพียงลำพัง ไม่มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูงเหมือนนกอื่น ๆ ถ้าหากมีนกอื่นรุกล้ำเข้ามา จะส่งเสียงร้อง "แก๊ก ๆ ๆ" ดังกังวาลเพื่อเตือน อย่างไรก็ตาม ตัวเมียก็มีส่วนช่วยเลือกสถานที่ทำรังเหล่านี้ด้วย ส่วนมากมักชอบไม้เนื้ออ่อน ซึ่งในฤดูแล้ง ต้นไม้เหล่านี้จะทิ้งใบ แต่บางครั้งจะทำรังตามต้นไม้แห้ง ๆ หรือต้นมะพร้าวหรือต้นปาล์ม

     






นกแก้วโม่ง




 แก้วโม่ง (อังกฤษ: Alexandrine parakeet, Alexandrine parrot; ชื่อวิทยาศาสตร์: Psittacula eupatria) เป็นนกตระกูลนกแก้วขนาดเล็ก-กลาง โดยมีชื่อสามัญตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแด่ อเล็กซานเดอร์มหาราช กษัตริย์แห่งอาณาจักรมาซิโดเนีย เมื่อครั้งยาตราทัพเข้ามาสู่ในทวีปเอเชีย โดยได้นำนกแก้วชนิดนี้กลับไปยังทวีปยุโรป
นกแก้วโม่งมีถิ่นกำเนิดแพร่กระจายทั่วไปในแถบทวีปเอเชีย ตั้งแต่ฝั่งตะวันตกและตะวันออกของอัฟกานิสถาน, ไล่ลงไปยังอินเดีย, อินโดจีน เช่น พม่า หรือ ประเทศไทยฝั่งตะวันตก รวมทั้งยังพบได้ตามหมู่เกาะในทะเลอันดามัน

ลักษณะ

นกแก้วโม่งมีความยาววัดจากหัวถึงปลายหางได้ราว 57-58 เซนติเมตร ลำตัวมีสีเขียว จงอยปากมีลักษณะงุ้มใหญ่สีแดงสด บริเวณหัวไหล่จะมีแถบสีแดงแต้มอยู่ทั้งสองข้าง นกเพศผู้และเมียสามารถแยกแยะได้เมื่อนโตเต็มที่ กล่าวคือในเพศผู้จะปรากฏมีแถบขนสีดำและสีชมพูรอบคอที่เรียกกันว่า "Ring Neck" ซึ่งในนกเพศเมียไม่มีเส้นที่ปรากฏดังกล่าว


      








นกกระแต





“นกกระแต”เคยถูกแนะนำให้รู้จักกันไปบ้างแล้วในคอลัมน์นี้ นกกระแตเป็นนกขายาวๆที่มักพบหากินใกล้แหล่งน้ำ ที่มาของชื่อก็ไม่ได้เกี่ยวอะไรกันกับกระแต (Treeshrews) ที่เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมลักษณะคล้ายกระรอก แต่มาจากเสียงร้อง “กระ-แต-แต่-แว้ด” ของนกกระแตแต้แว้ด (Red-wattled Lapwing) สัปดาห์นี้มาพบกับ“นกกระแตผี”ซึ่งหน้าตาเหมือนนกกระแต แต่มีดวงตาสีเหลืองกลมโตชวนขนลุก
ตาที่ใหญ่โตของนกกระแตผีช่วยให้พวกมันมองเห็นในยามค่ำคืน อันช่วงเวลาหากินหลักของมัน ชื่อ Stone-curlews นั้นก็มาจากเสียงร้องที่ฟังดูคล้ายเสียงนกอีก๋อย (Curlews) แต่บางทีก็เรียก Thick-knees ตามลักษณะข้อขาที่อวบหนาแข็งแรง ซึ่งทำให้พวกมันสามารถพักผ่อนโดยการทรงตัวบนข้อในขณะที่เหยียดขาไปข้างหน้าได้ นกกระแตผีในประเทศไทยทุกชนิดล้วนมีดีกรีความหายากติดตัว แต่ก็เป็นที่รู้กันดีว่าหากจะดูนกกระแตผีในที่ไม่ไกลจากกรุงเทพมากนัก ก็ต้องดูกันช่วงกลางปีที่จังหวัดเพชรบุรี ยามที่นกชายเลนมีให้ดูน้อยตัว ก็มีนกกระแตผีเล็ก (Indian Thick-knee) และนกกระแตผีใหญ่ (Great Thick-knee) โชว์ตัวแทน











วันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

นกอ้ญชัน



นกอัญชัน (อังกฤษ:browed Crake)ชื่อวิทยาศาสตร์: Porzana cinerea) จัดอยู่ในวงศ์นกอัญชัน (Rallidae) เป็นนกอัญชันขนาดเล็ก นกชนิดนี้หากินตาม ทะเลสาบ บึง หนอง พรุ นากุ้ง นาข้าว ห้วย คลอง หรือ พื้นที่ที่ชุ่มน้ำต่างๆที่มีพืชลอยน้ำปกคลุมหนาแน่นในพื้นที่ราบ อาหารของนกชนิดนี้ได้แก่เมล็ดของพืชน้ำ แมลง ไข่แมลง สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังเล็ก ๆ ที่หาพบได้ตามกอพืชรก ๆ หรือบริเวณชายน้ำในแหล่งน้ำที่อาศัย โดยนกจะเดินจิกกินไปเรื่อย ๆ พร้อมกับกระดกหางขึ้น ๆ ลง ๆ

ลักษณะ
      มีความยาวจากปลายปากจรดปลายหางประมาณ 19-21.5 เซนติเมตร มีตาสีแดง มีแถบสีดำลากผ่านคิ้วสีขาว ได้ตามีแถบสีขาวปากสีเหลืองอมเขียว โคนปากมีแต้มสีแดง หัวและอกสีเทา ท้องสีขาว ลำตัวต้านบนสีน้ำตาล มีจุดเด่นอยู่ที่แถบสีขาวคล้ายคิ้วและแถบสีขาวที่มุมปากถึงข้างแก้มตัดกับหน้าสีเทาและแถบตาสีดำ คอและท้องสีเทาปนขาว ท้องด้านล่างไปจนถึงก้นสีน้ำตาลแกมเหลือง ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลแกมเหลือง มีลายเกล็ดสีน้ำตาลดำขาและเท้าเหลืองแกมเขียว และโคนหางสีน้ำตาลแดงขาสีเขียวนกทั้งสองเพศคล้ายคลึงกัน


นกอัญชันหางดำ


นกอัญชันคิ้วขาว


นกอัญชันอกเทา