วันจันทร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2557

นกกาบบัว




ลักษณะทั่วไป
มีขนาดตัวประมาณ 40 นิ้ว ปากสีเหลืองอมส้มโค้งลง หน้าสีส้ม ตัวขาวมีลายดำพาดที่หน้าอก ส่วนบนของปีกมีลายดำอมเขียวสะท้อนแสง ขนบริเวณหลังถึงหางมีสีชมพู ปลายหางสีดำ ขายาว ลักษณะเหมือนกันทั้งสองเพศ มักพบอยู่ด้วยกันเป็นคู่ หรือเป็นฝูงตามท้องนา เป็นนกที่ไม่ค่อยคล่องแคล่ว วันๆจะยืนนิ่งๆ หรือไม่ก็เดินช้าๆ เงียบๆ ตามทุ่งนาเพื่อหาปลา หากบกิน เป็นนกที่ไม่ค่อยพบเห็นบ่อยมากนัก ผสมพันธุ์ปลายฤดูฝนจนถึงฤดูหนาว (กันยายน - พฤศจิกายน) ทำรังบนต้นไม้ที่อยู่ใกล้น้ำ หรือในน้ำ สร้างรังด้วยกิ่งไม้สานกันตื้นๆ บุด้วยใบไม้หรือฟาง วางไข่ครั้งละ 3 - 5 ฟอง ไข่มีสีขาว ทั้งตัวผู้และตัวเมียช่วยกันทำงาน
ถิ่นที่อยู่อาศัย
อินเดีย, ศรีลังกา, พม่า, ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน, ลาว, เขมร, เวียดนาม, มาเลเซียและไทย สำหรับประเทศไทยมีตั้งแต่ภาคกลางตลอดจนถึงภาคใต้ นกกาบบัวนี้อยู่ในบัญชีสัตว์คุ้มครองประเภทที่ 1
พฤติกรรม, การสืบพันธุ์
นกกาบบัวจะหากินอาหารจำพวกสัตว์น้ำโดยการลุยลงไปในน้ำจุ่มจะงอยปากลงไปหาอาหารตามโคลนท้องน้ำ หรืออาจหาเหยื่อด้วยการยืนกางปีก ก้มตัวนิ่ง และอ้าปากแช่อยู่ในน้ำ เมื่อเหยื่อผ่านมาก็จะงับทันที แล้วใช้โคนปากขบซ้ำจนตาย แล้วจึงกลืนเหยื่อเข้าไป


นกร่อนทะเล



นกร่อนทะเล (อังกฤษ: Tropicbird) เป็นวงศ์ของนกทะเลที่หากินบนผิวน้ำในมหาสมุทรเขตร้อน ปัจจุบันจัดอยู่ในอันดับกระทุง (Pelecaniformes) (บ้างก็จัดให้อยู่ในอันดับของตัวเองต่างหาก คือ Phaethontiformes) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Phaethontidae
ความสัมพันธุ์กับนกชนิดอื่นยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่พบว่ามันไม่มีญาติใกล้ชิดอื่นอีก มี 3 ชนิด สกุลเดียวเท่านั้น คือ Phaethon ชุดขนส่วนมากเป็นสีขาว มีขนหางยาว ขาและเท้าเล็ก


ลักษณะ นกร่อนทะเลมีขนาดตั้งแต่ 76 เซนติเมตร ถึง 102 เซนติเมตร ช่วงปีกยาว 94 เซนติเมตร ถึง 112 เซนติเมตร ชุดขนส่วนใหญ่เป็นสีขาว มีขนตรงกลางหางยาว ทั้งสามชนิดต่างกันที่แต้มสีดำบนหน้า หลัง และปีก ปากใหญ่ แข็งแรง โค้งลงเล็กน้อย หัวใหญ่ คอสั้นหนา มีเท้าแบบพัดเต็ม (แผ่นพังผืดขึงติดต่อกันทั้ง 4 นิ้ว) ขาอยู่ด้านหลังไกลจากลำตัว ทำให้มันเดินไม่ได้ ดังนั้นการเคลื่อนที่บนบกมันทำได้เพียงดันตัวเองไปข้างหน้าด้วยเท้า
เสียงร้องของนกร่อนทะเลโดยทั่วไปจะดัง แหลม โหยหวน แต่แกรกกราก หรือเสียงแตก บ่อยครั้งที่ร้องเป็นชุดอย่างรวดเร็วเมื่อบินที่โคโลนี