วันเสาร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2557

นกหงส์หยก



นกหงส์หยก (อังกฤษ: Budgerigar; ชื่อวิทยาศาสตร์: Melopsittacus undulatus) เป็นนกปากขอขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ที่มีลวดลายและสีสันที่สวยงาม ถิ่นกำเนิดดั้งเดิมของนกหงส์หยกอยู่ตามแถบทุ่งหญ้าในประเทศออสเตรเลีย มีชื่อเรียกเล่น ๆ ว่า "บั๊ดจี้" (Budgie) หรือ "พาราคีท" (Parakeet) ครั้งหนึ่ง ผู้คนทั่วไปเคยเข้าใจว่านกหงส์หยกเป็นนกที่อยู่ในจำพวกนกเลิฟเบิร์ด แต่ในปัจจุบันได้ยอมรับกันแล้วว่าเป็นนกคนละจำพวกกัน โดยผู้ที่ทำการอนุกรมวิธาน คือ นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ จอห์น กูลด์ ที่เข้าไปศึกษาธรรมชาติวิทยาที่ออสเตรเลียเมื่อกว่า 100 ปีมาแล้ว โดยถือเป็นนกเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Melopsittacus








นกเลิฟเบร์ด




นกเลิฟเบิร์ด (อังกฤษ: Lovebird) เป็นสกุลของนกปากขอ หรือนกแก้วขนาดเล็กสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Agapornis (มาจากภาษากรีกคำว่า αγάπη หมายถึง "รัก" และคำว่า όρνις หมายถึง "นก")
นกเลิฟเบิร์ดเป็นนกปากขอขนาดเล็ก ที่มีสีสันสดใส มีความยาวเต็มที่ประมาณ 5-6 นิ้ว โดยมีถิ่นกำเนิดในทวีปอัฟริกาฝั่งตะวันออก และเกาะมาดากัสการ์ซึ่งเป็นแถบที่อบอุ่นถึงค่อนข้างร้อน มีอายุขัยประมาณ 10-15 ปี นกเลิฟเบิร์ดมีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูง เมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์และเลือกคู่ได้แล้วจะอยู่กับคู่ของตัวเองไปตราบจนตาย อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ


นกเลิฟเบิร์ดก็เหมือนกับนกในอันดับนี้ส่วนใหญ่ ที่นิยมเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยง ประวัติของการเลี้ยงนกเลิฟเบิร์ด ในสมัยแรกเริ่มคือช่วงปี ค.ศ. 1840 นกเลิฟเบิร์ดถูกเรียกว่า "Little parrot" (นกแก้วเล็ก) ตามประวัติกล่าวว่าชาวแอฟริกันเป็นผู้นำเข้าไปแพร่หลายในทวีปยุโรป และด้วยเอกลักษณ์ของนกสกุลนี้ก็คือ ชอบอยู่เป็นคู่ และจะดูแลกันและกันเป็นอย่างดี จึงได้รับการเรียกขานว่านกเลิฟเบิร์ดในที่สุด


วันศุกร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2557

นกยูง



นกยูง (อังกฤษ: Peacock, Peafowl) เป็นสัตว์ปีกจำพวกไก่ฟ้าขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์เดียวกันนี้ มีจุดเด่นคือ เพศผู้มีขนหางยาวที่มีสีสันสวยงาม ที่เมื่อแผ่ขยายออกเพื่ออวดเพศเมียจะมีความสวยงามเป็นอย่างยิ่ง ที่เรียกว่า "รำแพน"
นกยูงใช้ชื่อสกุลว่า Pavo ชอบอาศัยอยู่ในป่าดิบแล้งและป่าผลัดใบผสมตามริมลำธารในป่า มีพฤติกรรมมักร้องตอนเช้าหรือพลบค่ำ กินอาหารจำพวกเมล็ดพืช แมลง และสัตว์เล็ก ๆ มีการกระจายพันธุ์อยู่ทางเหนือของประเทศอินเดียไปทางทิศตะวันออกผ่านพม่า, ตอนใต้ของประเทศจีน, ไทย, ลาว, เวียดนาม, กัมพูชา, มาเลเซียและชวา
นกยูงแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ
  •     นกยูงอินเดีย (Pavo cristatus) มีหงอนบนหัวแผ่เป็นพัด มีหนังข้างแก้มเป็นสีขาว ขนส่วนคอและอกด้านบนเป็นสีน้ำเงิน พบกระจายพันธุ์ในอินเดีย
  • นกยูงไทย (Pavo muticus) มีหงอนบนหัวตั้งตรงเป็นกระจุก หนังข้างแก้มเป็นสีฟ้าและสีเหลือง ขนส่วนคอ หลัง ตลอดไปถึงปลายหางเป็นสีเขียว พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ภาคตะวันออกชองอินเดียติดกับพม่า ภูมิภาคอินโดจีน และชวา



นกขุนทอง






นกขุนทอง หรือ นกเอี้ยงคำ (คำเมือง) (อังกฤษ: Common hill myna, Hill myna; ชื่อวิทยาศาสตร์: Gracula religiosa) เป็นนกในวงศ์นกเอี้ยงและนกกิ้งโครง (Sturnidae) มีถิ่นอาศัยอยู่ทั่วไปในเอเชียใต้และเอเชียอาคเนย์ มีความสามารถเลียนเสียงมนุษย์ได้เหมือนนกแก้ว จึงนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงกันสูง

ลักษณะทั่วไป

นกขุนทองมีความยาวเฉลี่ยประมาณ 29 เซนติเมตร ลำตัวป้อมสีดำ หางสั้น ปีกแหลมยาว เท้าแข็งแรง มีเหนียง คือ แผ่นหนังสีเหลืองอมส้มคลุมทั่วท้ายทอยและเหนียงสีเหลืองแดงสดใต้ตา ขนสีดำเหลือบเขียว มีเงาสีม่วงบริเวนหัวและคอ มีสีขาวแซมใต้ปีก ปากสีแดงส้ม ขาสีเหลืองสด ทั้งตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะคล้ายกัน


การกระจายพันธุ์และถิ่นอาศัยถิ่นแพร่พันธุ์หลักของนกขุนทองพบได้ในบริเวณโคนเทือกเขาหิมาลัย ใกล้เขตแดนอินเดีย, เนปาล และภูฏาน แต่พบได้ในศรีลังกา, พม่า, ไทย, ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม, สุมาตรา, อินโดนีเซีย และบอร์เนียว และถูกนำเข้าไปสหรัฐอเมริกาด้วย

นกขุนทองชอบอาศัยอยู่ในป่าที่มีความชื้น ที่ระดับความสูง 0-2,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล ในประเทศไทยจะพบทุกภาคยกเว้นที่ราบลุ่มภาคกลาง ในประเทศไทยพบ 2 ชนิดย่อย คือ G. r. intermedia ที่พบในพื้นที่ภาคเหนือ และ G. r. religiosa ที่ตัวใหญ่กว่าชนิดแรก พบในพื้นที่ภาคใต้ จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "นกขุนทองควาย"

นกโนรี

   

นกโนรี..สีสดสวย รักโดดเดี่ยวแต่ไม่ห่างคู่ 
 
          การระบาดของ ไข้หวัดนก ทำให้มีการทำลายสัตว์ปีกและป่วยตายเป็นจำนวนนับล้าน ๆ ตัว เมื่อสถานการณ์ เริ่มสร่างซาโรคร้ายลดท่าล่าถอยทิ้งช่วง ทิศทางของตลาด สัตว์ปีก รวมทั้งกลุ่มผู้เพาะเลี้ยงจึงกล้าหาญชาญชัยขึ้นมาอีก....เพื่อเรียกความคึกคักคืนกลับมา...

         ชีวิตใหม่....ของนกสวยงามหลากชนิด กลับมาโก่งคอขันและ ขยับปีก กันอีกครั้ง จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ราคาซื้อขายจะนำโด่ง จนแทบไม่น่าเชื่อว่าบางประเภทจะแพงถึงขนาดตีคู่กับทองคำ อย่างเช่นนกโนรี เพียงแค่ลูกมันก็เคาะตัวเลขกันไปถึงคู่ละ 6,500-7,000 บาท 

          นกโนรี พจนานุกรมให้นิยามว่า คือนกปากขอในวงศ์ Loriidae คล้ายนกแก้ว ตัวมีสีสันสวยงาม ฝรั่งเรียก โลรี่ (Lory) คนไทยเพี้ยนเป็น โนรี

         

 ถิ่นกำเนิด นกโนรี อยู่ในหมู่เกาะนิวกินี อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย มีหลายชนิด เช่น Lorius chlorocercus, L. tibialis, L. lory lory คนนำเข้ามาเลี้ยงในบ้านเราตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ด้วยเวลาที่ยาวนานเลยทำให้เข้าใจว่าถิ่นกำเนิดอยู่ในสยามประเทศ...ไหน ๆ ก็ไหน ๆ ตีขลุมตามซะเลยดีกว่า...!!! 

          ลักษณะทั่วไปที่ทำให้ นกโนรี มีความเด่น คือ ขน ส่วนใหญ่ เป็นสีแดง โดยเฉพาะ นกโนรีแดงชาด (Chattering or Scarlet Lory; Lorius garrulus) ซึ่ง จะแดงไปหมด แทบทั้งตัว ยกเว้นปีกปลายหาง ที่มีสีเขียวเข้มแซมสลับดำ ส่วนบริเวณ หลัง และ โคนปีก มีสีเหลืองแซม ปาก กับ ม่านตา สีส้ม ขา และนิ้วเท้า สีเทาออกดำ ความยาวจากปลายปากถึงปลายหางประมาณ 30 ซม.