วันศุกร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2557

นกขุนทอง






นกขุนทอง หรือ นกเอี้ยงคำ (คำเมือง) (อังกฤษ: Common hill myna, Hill myna; ชื่อวิทยาศาสตร์: Gracula religiosa) เป็นนกในวงศ์นกเอี้ยงและนกกิ้งโครง (Sturnidae) มีถิ่นอาศัยอยู่ทั่วไปในเอเชียใต้และเอเชียอาคเนย์ มีความสามารถเลียนเสียงมนุษย์ได้เหมือนนกแก้ว จึงนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงกันสูง

ลักษณะทั่วไป

นกขุนทองมีความยาวเฉลี่ยประมาณ 29 เซนติเมตร ลำตัวป้อมสีดำ หางสั้น ปีกแหลมยาว เท้าแข็งแรง มีเหนียง คือ แผ่นหนังสีเหลืองอมส้มคลุมทั่วท้ายทอยและเหนียงสีเหลืองแดงสดใต้ตา ขนสีดำเหลือบเขียว มีเงาสีม่วงบริเวนหัวและคอ มีสีขาวแซมใต้ปีก ปากสีแดงส้ม ขาสีเหลืองสด ทั้งตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะคล้ายกัน


การกระจายพันธุ์และถิ่นอาศัยถิ่นแพร่พันธุ์หลักของนกขุนทองพบได้ในบริเวณโคนเทือกเขาหิมาลัย ใกล้เขตแดนอินเดีย, เนปาล และภูฏาน แต่พบได้ในศรีลังกา, พม่า, ไทย, ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม, สุมาตรา, อินโดนีเซีย และบอร์เนียว และถูกนำเข้าไปสหรัฐอเมริกาด้วย

นกขุนทองชอบอาศัยอยู่ในป่าที่มีความชื้น ที่ระดับความสูง 0-2,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล ในประเทศไทยจะพบทุกภาคยกเว้นที่ราบลุ่มภาคกลาง ในประเทศไทยพบ 2 ชนิดย่อย คือ G. r. intermedia ที่พบในพื้นที่ภาคเหนือ และ G. r. religiosa ที่ตัวใหญ่กว่าชนิดแรก พบในพื้นที่ภาคใต้ จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "นกขุนทองควาย"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น